การตรวจความปลอดภัยของเครนในโรงงาน



     ปั้นจั่นชนิดอยู่กับที่ หรือ เครน (Crane) เป็นเครื่องจักรที่ใช้ใน การขนถ่ายหรือขนย้ายสินค้าและวัสดุที่มีใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม, คลังสินค้า และสถานประกอบการต่างๆอย่างแพร่หลาย เครื่องจักร ดังกล่าวถือเป็น “เครื่องจักรที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุได้สูง” กระทรวงมหาดไทยจึงได้ออกประกาศเรื่อง ความปลอดภัยในการทำงาน เกี่ยวกับปั้นจั่น ตั้งแต่เมื่อปี พ.ศ. 2530 ซึ่งประกาศดังกล่าวถือเป็นกฏ หมายที่บังคับใช้มามากกว่า 20 ปี และต่อมาเมื่อมีการจัดตั้งกระทรวง แรงงานและสวัสดิการสังคมขึ้น ประกาศดังกล่าวก็ยังคงมีผลบังคับใช้ อยู่เพียงแต่เปลี่ยนมากำกับดูแลโดยกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม แทนกรมแรงงาน กระทรวง มหาดไทย ในอดีตนั้นเอง

           ผู้ประกอบการและนายจ้างควรตระหนักถึงความรับผิดชอบและ หน้าที่ตามประกาศฉบับนี้เพราะแนวโน้มการใช้ปั้นจั่นโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในโรงงานอุตสาหกรรมมีค่อนข้างสูง และมีสถิติอุบัติเหตุจากการทำงาน เกิดขึ้นค่อนข้างบ่อย ทำให้มีผู้เสียชีวิต พิการ และบาดเจ็บจำนวนมาก โดยมีสาเหตุมาจากการไม่ตรวจสอบความปลอดภัยในการใช้ปั้นจั่นตาม ช่วงระยะเวลาที่กำหนด ขาดการตรวจสอบก่อนใช้งานการติดตั้งปั้นจั่น ไม่เหมาะสม การติดตั้งไม่มั่นคงแข็งแรง โดยเฉพาะหัวหน้างานขาดการ ควบคุมดูแลให้ปฏิบัติอย่างถูกต้องและพนักงานขับเครนขาดความรู้ความ เข้าใจในการใช้งานที่ถูกต้อง ดังนั้นเพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการใช้ ปั้นจั่น ผู้ที่รับผิดชอบงานเกี่ยวกับปั้นจั่นต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วย ความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่นอย่างเคร่งครัด

           กฎหมายว่าด้วยความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่นได้ กำหนดให้นายจ้างจัดให้มีการตรวจสอบส่วนประกอบและอุปกรณ์ของ ปั้นจั่นทุกๆ สามเดือน ตามแบบซึ่งกำหนดไว้ อย่างไรก็ตามวิศวกรผู้ตรวจ สอบและผู้ที่รับผิดชอบงานเกี่ยวกับปั้นจั่นควรมีความรู้และเข้าใจถึงการ ออกแบบและข้อกำหนดต่างๆที่เกี่ยวข้องเพื่อนำมาประกอบการตรวจ ความปลอดภัยของปั้นจั่นได้อย่างถูกต้อง ซึ่งในบทความนี้ขอนำเสนอ เฉพาะจุดที่สำคัญๆและควรตรวจสอบทุกครั้งเพื่อความปลอดภัยของ ปั้นจั่นและเพื่อให้ท่านผู้สนใจได้นำไปพิจารณาประกอบการตรวจสอบ ต่อไป

นิยามศัพท์ กฎหมายว่าด้วยความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่นได้ กำหนดว่า ปั้นจั่น (Cranes หรือ Derricks ) หมายความว่า เครื่องจักรกล ที่ใช้ยกสิ่งของขึ้นลงตามแนวดิ่งและเคลื่อนย้ายสิ่งของเหล่านั้นในลักษณะ แขวนลอยไปตามแนวราบ ซึ่งปั้นจั่นตามข้อกำหนดนี้มีสองชนิดคือ
1) ปั้นจั่นชนิดอยู่กับที่ หมายถึง ปั้นจั่นที่อุปกรณ์ต่างๆ และ เครื่องต้นกำลังติดตั้งอยู่บนขาตั้งล้อเลื่อน รางเลื่อน หรือหอสูง การใช้งาน จะถูกจำกัดตามระยะที่ขาตั้งหรือล้อเลื่อนจะเคลื่อนที่ไปได้ ปั้นจั่นชนิด อยู่กับที่นี้จะมีใช้มากในโรงงานอุตสาหกรรม ท่าเรือ และการก่อสร้าง อาคารสูง
รูปแสดงลักษณะของปั้นจั่นชนิดอยู่กับที        รูปแสดงลักษณะของปั้นจั่นชนิดเคลื่อนที่
2) ปั้นจั่นชนิดเคลื่อนที่ หมายถึง ปั้นจั่นที่อุปกรณ์ต่างๆ และ เครื่องต้นกำลังติดตั้งอยู่บนยานพาหนะที่ขับเคลื่อนในตัวเอง เช่น รถบรรทุก หรือรถตีนตะขาบ สามารถเคลื่อนที่ไปทำงานที่บริเวณอื่นๆ ที่อยู่ห่างไกลได้อย่างรวดเร็ว

           ในที่นี้จะขอกล่าวถึงการตรวจความปลอดภัยเฉพาะปั้นจั่นชนิดอยู่ กับที่หรือที่เรียกว่าเครนเหนือศรีษะ (Overhead Crane) เท่านั้น เครน สำหรับการเคลื่อนย้ายวัสดุถือเป็นอุปกรณ์ชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมและ ถูกเลือกใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมโดยทั่วไป ทั้งนี้เนื่องจากความง่ายใน การใช้งาน คุ้มประโยชน์ต่อการลงทุน มีอายุการใช้งานนานและการบำรุง รักษาไม่ยุ่งยากมากนัก

          เครนในโรงงานอุตสาหกรรมโดยทั่วไปแบ่งออกได้เป็นหลายชนิด อาทิเช่น เครนคานเดี่ยว (single girder crane), เครนคานคู่ (double girder crane), เครนขาหยั่ง (gantry crane) และเครนแขนยื่น (Jib crane) ซึ่งมีขนาดหรือความสามารถในการยกน้ำหนักได้แตกต่างกันไป ตามลักษณะความต้องการในการใช้งานมีขนาดตั้งแต่ไม่ถึงหนึ่งตันไป จนถึงเป็นร้อยๆ ตัน

        
                             รูปแสดง เครนคานเดี่ยว                    รูปแสดง เครนคานคู่



รอกไฟฟ้าถือเป็นปั้นจั่นหรือไม่ มีคำถามอยู่เสมอว่ารอกไฟฟ้าถือเป็นปั้นจั่นหรือไม่และต้องมีการ ตรวจความปลอดภัยตามกฏหมายที่กำหนดหรือไม่ ก่อนอื่นควรทำความ รู้จักกับรอกไฟฟ้า (Hoist) ก่อนว่าเป็นอย่างไร

รอกไฟฟ้า (Hoist)
หมายถึงเครื่องจักรกลที่ใช้ยกสิ่งของขึ้นลงตาม แนวดิ่งเท่านั้น อาจใช้โซ่หรือลวดสลิงสำหรับยก ต้นกำลังของรอกนี้อาจใช้ เป็นไฟฟ้า ลม หรือใช้มือสาวขึ้นลงก็ได้

           เมื่อพิจารณาตามข้อกำหนดของกฎหมายแล้วหาก รอกที่ใช้แขวน อยู่กับที่เพื่อยกสิ่งของขึ้นและลงในแนวดิ่งโดยไม่มีการเคลื่อนย้ายสิ่งของใน ลักษณะแขวนลอยไปตามแนวราบแล้วจะไม่ถือเป็นปั้นจั่นแต่ส่วนใหญ่ ในการใช้งานของรอกไฟฟ้านั้น รอกไฟฟ้าจะใช้ประกอบกับรางเพื่อ เคลื่อนย้ายสิ่งของไปในแนวระนาบด้วยเสมอ เช่นรอกไฟฟ้าบนรางเดี่ยว (monorail hoist) ที่มีใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมทั่วไปหากมีลักษณะที่ใช้ ยกสิ่งของขึ้นลงตามแนวดิ่งและมีการเคลื่อนย้ายสิ่งของเหล่านั้นในลักษณะ แขวนลอยไปตามแนวราบแล้วก็ถือเป็นปั้นจั่นชนิดอยู่กับที่ชนิดหนึ่ง ซึ่งต้อง มีการตรวจความปลอดภัยตามกฏหมายด้วย



รูปแสดงลักษณะรอกไฟฟ้าแบบใช้โซ่และแบบใช้ลวดสลิง
ลักษณะของเครนเหนือศรีษะ (Overhead Crane) ปั้นจั่นหรือเครนเหนือศีรษะโดยทั่วไป ประกอบด้วยโครงสร้างและ อุปกรณ์ในการยกที่เรียกว่ารอกไฟฟ้า (hoist) อาจเป็นโซ่หรือลวดสลิงก็ได้ และมีชุดขับเคลื่อนทั้งชุดเดินยาวและชุดเดินขวางประกอบเข้ากับ โครงสร้างของเครน อุปกรณ์และส่วนประกอบที่สำคัญต่างๆ มีดังภาพ ประกอบ




รูปแสดงส่วนประกอบต่างๆของเครนเหนือศีรษะ
การเลือกเครนเหนือศรีษะ(Overhead Crane) สำหรับใช้งาน เครนและรอกไฟฟ้าจะมีมาตรฐานในการออกแบบเพื่อการใช้งานที่ แตกต่างกันไป แต่โดยส่วนใหญ่สามารถอ้างอิงถึงมาตรฐานการใช้งานของ ยุโรป (FEM) หรืออเมริกา (ISO) ได้ ซึ่งมาตราฐานทั้งสองนี้สามารถเทียบ เคียงกันได้ มาตราฐานนี้มีการพัฒนาโดยองค์กรกลางในการกำหนดค่า ความปลอดภัยต่างๆสำหรับการใช้งานและการออกแบบชิ้นส่วนไว้โดยละเอียด ทั้งนี้เพราะในยุโรปมีการผลิตรอกไฟฟ้ามาอย่างยาวนานและให้ ความสำคัญอย่างมากในเรื่องความปลอดภัย มาตรฐานเหล่านี้จึงให้ความ สำคัญกับทั้งการใช้งานและการออกแบบที่สอดคล้องกัน เครนและรอก ไฟฟ้าที่จะสามารถใช้งานได้ในยุโรปต้องออกแบบตามมาตราฐานที่เรียกว่า “FEM” (ย่อมาจาก European Federation of Materials Handling ; www.fem-eur.com) เท่านั้น มาตรฐานนี้มีส่วนหนึ่งซึ่งกำหนดอายุการใช้ งานที่ปลอดภัยของเครื่องจักรเอาไว้ โดยอายุของเครื่องจักรจะถูกกำหนด ขึ้นตามลักษณะในการใช้งานต่างๆเป็นสำคัญ โดยทั่วไปมีการจำแนก สภาวะการใช้งาน (Load Spectrum) ของเครนและรอกไฟฟ้าไว้ 4 ประเภท คือ
1) การใช้งานเบา (Light) คืออุปกรณ์ที่ออกแบบ เพื่อใช้สำหรับ งานเบาๆ หรือมีความถี่ในการใช้งานไม่มากนัก
2) การใช้ปานกลาง (Medium) คืออุปกรณ์ที่ออกแบบเพื่อใช้ สำหรับงานในระดับปานกลางหรือมีความถี่ในการใช้งานปานกลาง
3) การใช้งานหนัก (Heavy) คืออุปกรณ์ที่ออกแบบเพื่อใช้ สำหรับงานหนักหรือใช้งานในลักษณะเต็มอัตรากำลังตลอดเวลาและมี ความถี่ในการใช้งานมาก
4) การใช้งานหนักมาก (Very Heavy) คืออุปกรณ์ที่ออกแบบ เพื่อใช้สำหรับงานหนักมากหรือใช้งานในลักษณะเต็มอัตรากำลัง ตลอดเวลาและมีความถี่ในการใช้งานสูงต่อเนื่องตลอดเวลา



รูปแสดงผังการการเลือกใช้งานของเครนในกลุ่มต่างๆ
          โดยตามมาตรฐานหมายเลข FEM 9.511 และ มาตราฐาน ISO ได้กำหนดอายุการใช้งานของรอกไฟฟ้าและอุปกรณ์ต่างๆ เป็นที่ใช้กับเครน ไว้เป็นกลุ่มๆ ดังนี้



รูปแสดงผังการการเลือกใช้งานของเครนในกลุ่มต่างๆ
          จากมาตรฐานและการออกแบบดังกล่าวเครนและรอกไฟฟ้าจึงถูก กำหนดให้มีการออกแบบอายุที่สามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัย (Safe Working Period) หรือเรียกโดยย่อว่า “S.W.P” ไว้ด้วย

                          ข้อมูลโดย คุณชาตรี ปรีชาชีววัฒน์ บริษัท เอ็ม.เอช.อี.-ดีแมก (ที) จำกัด

รวมคำศัพท์ด้านเครน

Over Head Crane คือ เครนเหนือศรีษะ
Gantry Crane คือ เครนแบบมีขา

Semi Gantry Crane คือ เครนแบบกึ่งเหนือศรีษะและเครนแบบมีขา 

Jib Crane คือ เครนแบบมีแขน หมุนได้รอบตัวเสา 

Mobile Crane คือ เครนที่สามารถเคลื่อนย้ายได้ 

Tower Crane คือ เครนที่ใช้สำหรับงานก่อสร้างที่สูงมากๆ มีแขนที่ยาวและสามารถหมุนได้  
                           รอบตัวเอง

Mono Rail คือ รางสำหรับ Trolley ของรอก

Capacity คือ ความสามารถในการบรรทุก Load มีหน่วยเป็น กิโลกรัม หรือ ตัน

Load คือ น้ำหนักที่บรรทุก

Span คือ ระยะความกว้างของเครน จาก ศูนย์กลาง Runway ด้านหนึ่ง ถึงอีกด้านหนึ่ง  

Rail คือ รางเครน

Runway คือ รางวิ่งสำหรับเครน

Runway Length คือ ระยะความยาวของ รางเครน  

Traveling คือ การเคลื่อนที่ ตามยาวของเครน

Traversing คือ การเคลื่อนที่ ตามกว้างของเครน

Lifting Height คือ ระยะยกสูงสุดของเครน วัดจากพื้นถึงความสูงตะขอ (Hook) 

Girder คือ คานหลัก
Beam คือ คานรอง

Box Girder คือ คานแบบกล่องประกอบ  
  
Single Girder คือ คานเดี่ยว 
Doubel Girder คือ คานคู่

Trolley คือ ล้อวิ่งของรอก 

End Carriage คือล้อวิ่งของ Crane ที่วิ่งบน Runway  

Hoist คือ รอก 

Hook คือ ตะขอสำหรับแขวนหรือยก 

Manual Chain Hoist คือ รอกมือสาว

Electric Chain Hoist คือ รอกโซ่ไฟฟ้า

Electric Wire Rope Hoist คือ รอกสลิงไฟฟ้า  

Push Buton Switch คือ สวิตซ์แบบปุมกด 

Remote Switch คือ สวิตซ์แบบรีโมท

Gear Motor คือ มอเตอร์ขับเครนตามยาวจะติดอยู่กับ End Carriage 

Control Box คือ กล่องใส่แผงวงจรควบคุมไฟฟ้าเครน 

Direction Plate คือ แผ่นป้ายบอกทิศทาง 





 

ขอบเขตการทำงานของวิศวกรโยธา





     ว่าด้วยหลักเกณฑ์และคุณสมบัติของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมแต่ละระดับ
สาขาวิศวกรรมโยธา พ.ศ. ๒๕๕๑

วิศวกรโยธาแบ่งเป็น 3 ระดับ คือ ภาคีวิศวกร สามัญวิศวกร วุฒิวิศวกร

ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมโยธา
ระดับภาคีวิศวกร
 
 งานออกแบบและคำนวณ
(ก) อาคารที่มีความสูงไม่เกิน ๔ ชั้น หรือโครงสร้างของอาคารที่ชั้นใดชั้นหนึ่งมีความสูง
      ไม่เกิน ๕ เมตร หรืออาคารที่มีช่วงคานยาวทุกขนาด
(ข) คลังสินค้า ไซโล ห้องเย็น หรือยุ้งฉางที่มีความจุไม่เกิน ๑,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตร
(ค) โครงสร้างที่มีลักษณะเป็นหอ ปล่อง หรือศาสนวัตถุ เช่น พระพุทธรูป หรือเจดีย์
      ที่มีความสูงไม่เกิน ๑๕ เมตร
(ง) นั่งร้านหรือค้ำยันชั่วคราวที่มีความสูงไม่เกิน ๒๕ เมตร
(จ) แบบหล่อคอนกรีตสำหรับเสาที่มีความสูงไม่เกิน ๕ เมตร หรือคานที่มีช่วงคานยาว
     ทุกขนาด
(ฉ) โครงสร้างใต้ดิน สิ่งก่อสร้างชั่วคราว กำแพงกันดิน คันดินป้องกันน้ำ หรือคลอง
      ส่งน้ำที่มีความสูงหรือความลึกไม่เกิน ๒.๕๐ เมตร
(ช) เขื่อน ฝาย อุโมงค์ ท่อระบายน้ำ หรือระบบชลประทานที่มีความสูงไม่เกิน
      ๒.๕๐ เมตร หรือมีความจุไม่เกิน ๑,๐๐๐,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตร หรือที่มีอัตราการไหลของน้ำไม่เกิน
      ๕ ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที
(ซ) โครงสร้างที่มีการกักของไหล เช่น ถังเก็บน้ำ ถังเก็บน้ำมัน อุโมงค์ส่งน้ำ
      หรือสระว่ายน้ำที่มีความจุไม่เกิน ๕๐๐ ลูกบาศก์เมตร
(ฌ) ท่อส่งน้ำ ท่อระบายน้ำ หรือช่องระบายน้ำที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน ๑.๕๐ เมตร
       หรือพื้นที่หน้าตัดไม่เกิน ๒.๐๐ ตารางเมตร และมีโครงสร้างรองรับ
(ญ) ระบบชลประทานที่มีพื้นที่ชลประทานไม่เกิน ๕,๐๐๐ ไร่ต่อโครงการ


งานควบคุมการสร้างหรือการผลิต
(ก) อาคารที่มีความสูงไม่เกิน ๘ ชั้น
(ข) อาคารสาธารณะที่มีความสูงไม่เกิน ๘ ชั้น
(ค) คลังสินค้า ไซโล ห้องเย็น หรือยุ้งฉางทุกขนาด

(ง) โครงสร้างที่มีลักษณะเป็นหอ ปล่อง ที่มีความสูงไม่เกิน ๔๐ เมตร หรือศาสนวัตถุ
เช่น พระพุทธรูป หรือเจดีย์ ที่มีความสูงไม่เกิน ๒๓ เมตร
(จ) โครงสร้างสะพานที่มีช่วงระหว่างศูนย์กลางตอม่อช่วงใดช่วงหนึ่งยาวไม่เกิน
๑๒ เมตร
(ฉ) ชิ้นส่วนโครงสร้างคอนกรีตหล่อสำเร็จหรือคอนกรีตอัดแรงหล่อสำเร็จรูปทุกชนิด
ที่มีความยาวทุกขนาด
(ช) เสาเข็มคอนกรีตทุกขนาด
(ซ) นั่งร้านหรือค้ำยันชั่วคราวที่มีความสูงไม่เกิน ๔๒ เมตร
(ฌ) โครงสร้างใต้ดิน สิ่งก่อสร้างชั่วคราว กำแพงกันดิน คันดินป้องกันน้ำ หรือคลอง
ส่งน้ำที่มีความสูงหรือความลึกไม่เกิน ๒.๕ เมตร
(ญ) ทางสาธารณะทุกขนาด
(ฎ) เขื่อน ฝาย อุโมงค์ ท่อระบายน้ำ หรือระบบชลประทาน ทุกขนาด
(ฏ) โครงสร้างที่มีการกักของไหล เช่น ถังเก็บน้ำ ถังเก็บน้ำมัน อุโมงค์ส่งน้ำ
หรือสระว่ายน้ำทุกขนาด
(ฐ) ท่อส่งน้ำ ท่อระบายน้ำ หรือช่องระบายน้ำทุกขนาด และมีโครงสร้างรองรับ
(ฑ) ระบบชลประทานทุกขนาด
(ฒ) ป้ายหรือสิ่งที่สร้างขึ้นสำหรับติดหรือตั้งป้าย มีความสูงจากพื้นดินไม่เกิน
๒๓ เมตร หรือป้าย หรือสิ่งที่สร้างขึ้นสำหรับติดหรือตั้งป้ายที่มีพื้นที่ไม่เกิน ๕๐ ตารางเมตร
ที่ติดตั้งอยู่บนหลังคา ดาดฟ้า หรือกันสาด หรือที่ติดกับส่วนใดส่วนหนึ่งของอาคาร
(ณ) อัฒจันทร์ที่มีพื้นที่ไม่เกิน ๑,๕๐๐ ตารางเมตร
(ด) โครงสร้างสำหรับใช้ในการรับส่งหรือติดตั้งอุปกรณ์รับส่งวิทยุหรือโทรทัศน์
ที่มีความสูงจากระดับฐานของโครงสร้างไม่เกิน ๕๐ เมตร    

งานพิจารณาตรวจสอบ หรืองานอำนวยการใช้ ทุกประเภทและทุกขนาด
 


ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมโยธา
ระดับสามัญวิศวกร ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมโยธา ได้เฉพาะงานวางโครงการ
งานออกแบบและคำนวณ งานควบคุมการสร้างหรือการผลิต งานพิจารณาตรวจสอบ หรืองาน
อำนวยการใช้ ทุกประเภทและทุกขนาด

ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมโยธา
ระดับวุฒิวิศวกร ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมโยธา ได้ทุกงาน ทุกประเภทและทุกขนาด





วิศวกรรมโยธา [Civil Engineering] คืออะไร



วิศวกรรมโยธาคืออะไร

วิศวกรรมโยธาเป็นศาสตร์ทางวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้หรือปรับปรุงเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่เดิม และการสร้างและใช้สิ่งก่อสร้าง เพื่อตอบสนองความต้องการของสังคมมนุษย์ โดยจะรวมขั้นตอนการออกแบบ การวิเคราะห์ การก่อสร้างหรือการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง การจัดการ และการบำรุงรักษาสิ่งก่อสร้างหรือสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่เดิม งานทางด้านวิศวกรรมโยธามีตัวอย่างเช่น งานออกแบบก่อสร้างและบำรุงรักษาอาคารสูง บ้าน สะพาน เส้นทางรถไฟฟ้า สนามบิน ท่าเรือ เขื่อน ถนน เป็นต้น

วิศวกรรมโยธาเรียนเกี่ยวกับอะไร

ในระดับปริญญาตรี นักศึกษาในสาขาวิชาวิศวกรรมโยธาจะเรียนเกี่ยวกับสิ่งก่อสร้างทางโยธาในหลายรูปแบบ เช่น อาคาร สะพาน สนามบิน ท่าเรือ เขื่อน ถนน สัญญาณไฟจราจร เป็นต้น โดยจะเรียนตั้งแต่การตรวจสอบว่ามีความจำเป็นที่จะต้องมีสิ่งก่อสร้างเหล่านี้หรือไม่ และจะเรียนวิธีวิเคราะห์และออกแบบสิ่งก่อสร้างเหล่านี้ ซึ่งจะรวมไปถึงสิ่งแวดล้อมรอบๆ สิ่งก่อสร้างด้วย นอกจากนี้ นักศึกษาจะได้เรียนเกี่ยวกับการจัดการ การดำเนินการ และการบำรุงรักษาสิ่งก่อสร้างเหล่านี้ด้วย

ผู้ที่จะเข้าศึกษาต้องมีพื้นฐานอะไรบ้าง

ผู้ที่จะเข้าศึกษาควรมีความรู้พื้นฐานทางด้านฟิสิกส์ และคณิตศาสตร์ ที่ดีพอสมควร

เรียนจบแล้วสามารถประกอบอาชีพอะไรได้บ้าง

ผู้ที่สำเร็จการศึกษาในสาขาวิชาวิศวกรรมโยธา สามารถเลือกทำงานในสายงานด้านวิศวกรรมโยธาที่แตกต่างกันมากมาย เนื่องจากสาขาวิชาวิศวกรรมโยธาเป็นสาขาที่ค่อนข้างกว้าง โดยอาจจะทำงานเป็นวิศวกรออกแบบ ซึ่งทำหน้าที่ออกแบบโครงสร้างและสิ่งก่อสร้างทางโยธาชนิดต่างๆ หรืออาจจะทำงานเป็นวิศวกรก่อสร้าง ซึ่งทำหน้าที่ก่อสร้างสิ่งก่อสร้างทางโยธาตามแบบที่วิศวกรออกแบบได้ทำมา หรืออาจจะทำงานเป็นวิศวกรโครงการ ซึ่งทำหน้าที่จัดการโครงการทางวิศวกรรมโยธา

เรียนจบแล้วสามารถทำงานที่ไหนได้บ้าง

ผู้ที่สำเร็จการศึกษาในสาขาวิชาวิศวกรรมโยธา สามารถทำงานในบริษัทวิศวกรที่ปรึกษา บริษัทก่อสร้าง บริษัทผลิตวัสดุและผลิตภัณท์ทางโยธาเช่น ปูนซิเมนต์ เหล็ก พื้นสำเร็จรูป เสาเข็ม เป็นต้น ซึ่งบริษัทเหล่านี้ มีทั้งที่เป็นบริษัทขนาดใหญ่ บริษัทข้ามชาติ และบริษัทขนาดเล็ก นอกจากนี้ยังสามารถทำงานในองค์กรระหว่างประเทศที่ทำงานเกี่ยวกับการพัฒนา เช่น องค์การสหประชาชาติ เป็นต้น

เรียนต่อด้านไหนได้บ้าง

ผู้ที่สำเร็จการศึกษาในสาขาวิชาวิศวกรรมโยธา สามารถเรียนต่อในสาขาย่อยทางวิศวกรรมโยธาซึ่งเป็นการเรียนไปในทางลึก เช่น อาจจะเรียนต่อในสาขาเฉพาะทางด้านอาคารสูง สะพาน วัสดุก่อสร้าง หรือ การจราจรและขนส่ง เป็นต้น หรืออาจจะเรียนต่อในทางกว้าง เช่น เรียนต่อในด้านการบริหาร เพื่อที่จะมาบริหารงานทางด้านวิศวกรรมโยธา ก็ได้

                                                                                                                ขอบคุณสำหรับข้อมูลจาก http://www.siit.tu.ac.th








วิศวกรรมโยธา ( civil engineering) เป็นศาสตร์ของสาขาหนึ่งในทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ ครอบคลุมการก่อสร้างตึก ตึกระฟ้าอาคาร สะพาน ถนน และระบบขนส่งอื่น ๆ รวมถึงระบบสาธารณูปโภคต่างๆ เช่น เขื่อน คลอง ตลอดจนการทำรังวัดในงานสำรวจและแผนที่ รวมไปถึงการวิเคราะห์ทางธรณีและชลศาสตร์ และการบริหารจัดการการก่อสร้าง งานในทางด้านวิศวกรรมจะเน้นทางด้านการใช้วัสดุและทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ผู้ที่ประกอบวิชาชีพในสาขานี้เรียกว่า วิศวกรโยธา หรือเรียกกันว่า นายช่าง ในการทำงานในประเทศไทย ผู้ที่ประกอบวิชาชีพจะขึ้นทะเบียนกับสภาวิศวกรเพื่อรับ ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรม (กว.) โดยมีการจัดสอบระบบใหม่เริ่มต้นเมื่อต้นปี พ.ศ. 2552 ด้วยระบบสุ่มข้อสอบทั้งหมดผ่านระบบคอมพิวเตอร์ (เฉพาะระดับ "ภาคีวิศวกร")
การศึกษาทางด้านวิศวกรรมโยธานั้นนับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งเนี่องจากการ พัฒนาทางด้านเทคโนโลยีในปัจจุบันนั้นมีความก้าวหน้าสามารถเรียกได้ว่าเป็น การพัฒนาแบบก้าวกระโดดซึ่งมีผลโดยตรงกับการศึกษาทางด้านวิศวกรรมโยธาเช่นกัน ดังนั้นสถาบันการศึกษาหลายๆสถาบันจึงได้มีการปรับปรุงแผนการเรียนการสอนทาง ด้านวิศวกรรมโยธาให้มีความทันสมัยเพื่อผลิตบุคลากรทางด้านวิศวกรรมโยธา หรือที่เรียกกันว่า “วิศวกรโยธา” ที่มีคุณภาพและตรงกับความต้องการของตลาดแรงงานมากขึ้น
วิศวกรรมโยธาเป็นสาขาวิศวกรรมที่เก่าแก่ที่สุด โดยตอบสนองความต้องการของสังคม


สาขาย่อย


ตัวอย่างแผนที่ใช้ในการแบ่งโซนอาศัย สร้างโดยใช้ระบบ จีไอเอส (GIS) โดยโปรแกรม ชื่ออาร์คจีไอเอส (ArcGIS)
วิศวกรรมโครงสร้าง (Structural Engineering) 
ศึกษาเกี่ยวกับการออกแบบและคำนวณ สิ่งก่อสร้าง การศึกษาในสาขานี้จะเน้นในทางด้านงานคำนวณวิเคราะห์ ออกแบบโครงสร้างของสิ่งก่อสร้าง และแรงต้านทานของวัสดุ เพื่อหาวัสดุและขนาดของวัสดุที่เหมาะสมกับงานนั้นๆ งานที่เกี่ยวข้องได้แก่ การก่อสร้างอาคาร เขื่อนหรือสะพาน เป็นต้น
วิศวกรรมก่อสร้างและการจัดการ (Construction Engineering and Management) 
ศึกษาเกี่ยวกับการก่อสร้างอาคารเป็นหลัก โดยเน้นศึกษาทางด้านระบบการสร้างอาคาร การวางแผนงาน การประเมินราคาค่าก่อสร้าง นอกจากนี้ ในบางสถาบันจะมีการสอนเกี่ยวกับระบบไฟฟ้า ระบบปรับอากาศ และระบบสุขาภิบาลภายในอาคาร
วิศวกรรมขนส่ง (Transportation Engineering) 
ศึกษาแยกเป็น 2 สาขาหลักคือระบบและวัสดุ โดยงานทางด้านระบบจะเน้นทางด้านการวางผัง การจราจร และการจัดการทางด้านงานจราจร โดยทำการศึกษาถึงประโยชน์และค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างระบบถนน สำหรับงานทางด้านวัสดุจะเน้นในการศึกษาวัสดุในการทำถนน ได้แก่คอนกรีตและยางมะตอย เป็นหลัก โดยศึกษาถึงกรรมวิธีในการสร้างถนนและปรับปรุงถนน
วิศวกรรมเทคนิคธรณี (Geotechnical engineering) 
ศึกษาเกี่ยวกับคุณสมบัติทางด้านฟิสิกส์และวิศวกรรมของดิน เพื่อการวิเคราะห์ ออกแบบ และแก้ปัญหาด้านวิศวกรรมโยธา
วิศวกรรมธรณี (Geological engineering) 
ศึกษาเกี่ยวกับคุณสมบัติทางด้านฟิสิกส์ วิศวกรรมของหิน และธรณีวิทยาประยุกต์ เพื่อการวิเคราะห์ ออกแบบ และแก้ปัญหาด้านวิศวกรรมโยธาและเหมืองแร่
วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม (Environmental Engineering) 
ศึกษาเกี่ยวกับการจัดการระบบสิ่งแวดล้อมในน้ำและในอากาศ การปรับปรุงคุณภาพของของเสีย
วิศวกรรมแหล่งน้ำ (Water Resource engineering) 
ศึกษาเกี่ยวกับงานทางด้านแหล่งน้ำ ปริมาณน้ำฝน และระบบการระบายน้ำ รวมทั้งการก่อสร้างคู คลอง และแม่น้ำ
วิศวกรรมสำรวจ (Survey Engineering) 
ศึกษาเกี่ยวกับวิธีการทำรังวัดและงานทางด้านสำรวจ สำหรับใช้ในทางด้านแผนที่ รวมถึงการศึกษาทางด้าน จีพีเอส (GPS) และ ภูมิสารสนเทศ (Geoinformatics หรือ Geographic information system;GIS)

                                                                                                                            จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

รับเหมาออกแบบและติดตั้งเครนรันเวย์


รายละเอียดงานเครนและรันเวย์ที่ให้บริการ


รับงานออกแบบ เขียนแบบ ประกอบติดตั้ง งานขายเครน( CRANE )สำหรับอุตสาหกรรมและเครนสนามดังนี้
1. Over head crane  
    1.1 Manual Over head crane for Top runing type & Under runing type
         1.1.1 Plain Type 125 kg. - 500 kg.
         1.1.2 Gear Type 125 kg. - 5 Ton
    1.2 Electric Motorize Over head crane for Top runing type 
         1.2.1 Double girder 2 Ton - 30 Ton
         1.2.2 Single girder 125 kg. - 10 Ton
    1.3 1.2 Electric Motorize Over head crane for Under runing type 
         1.3.1 Single girder 125 kg. - 5 Ton
2. Jib crane
    2.1 Manual jib crane for Pillar type 50 kg. - 3 Ton
    2.2 Manual jib crane for Wall type 50 kg. - 2 Ton
    2.3 Manual jib crane for L- type 50 kg. - 2 Ton
3. Semi-Gantry crane
    3.1 Electric Motorize 500 kg. - 5 Ton
4. Gantry Crane
    4.1 Mobile gantry crane 125 kg. - 3Tton
    4.2 Electric Motorize Gntry crane 125 kg. - 5 Ton
5. Monorail  (50 kg. - 250 Ton )
     5.1 Stigth Monorail 50 kg. - 500 Ton.
     5.2 Oval Shape Monorail 50 kg. - 30 Ton.
6. Runway 125 kg. - 50 Ton.


     6.1 Top Runing Type For Over head crane , Semi-gantry crane and Gantry crane 125 kg. - 50 Ton
     6.2 Under Runing Type for Over head crane  125 kg. - 20 Ton


หมายเหตุ เครนออกแบบโดยใช้มาตรฐาน Japan Industrial Standard (JIS)


ยินดีบริการรับเหมาแบบค่าแรง หรือ ตามที่ลูกค้าต้องการ เช่นทางบริษัทผมออกแบบประกอบติดตั้งเฉพาะตัวโครงสร้างเหล็ก แล้วลูกค้าซื้อรอกมาติดเอง หรือให้ทางผมบริการรับเหมาแบบเบ็ดเสร็จจนกว่าจะเสร็จงาน


รูปแบบการจ่ายเงิน
สำหรับเครนแบบ Jib Crane ,Mobile Gantry Crane ,Manual Over Head Crane  จ่ายเงินสดวันส่งมอบงาน
เครนแบบอื่นๆ ตามแต่การเจรจาและตกลง









รายละเอียดเพิ่มเติมหรือให้เสนอราคาสินค้า
E-MAIL : CHAI306@HOTMAIL.COM
หรือ Tel  : 083-5832903
มีบริการให้คำแนะนำ ออกแบบ ประกอบ และ บริการติดตั้งทุกพื้นที่ทั่วประเทศ
เวลา 09.00 - 20.00 น. ทุกวัน
ประกอบและจัดส่งหรือติดตั้งภายใน 30 วัน





โอเวอร์เฮดเครน OVER HEAD CRANE



โอเวอร์เฮดเครนคือ โครงสร้างที่รวมกับรอกมีการวิ่งของคานในแนวนอนไปตามรางทั้งสองข้างที่แยกออกจากกันมีความกว้าง ที่เรียกว่า SPAN  มักจะติดตั้งในอาคารโรงงาน มีส่วนประกอบหลักของเครนดังนี้ 
     A.รอกแบบไฟฟ้า หรือ เมนวล ที่วิ่งบนคานหรือใต้คานได้
     B.คานที่ให้รอกวิ่งบนคานหรือใต้คานได้ มีคานเดี่ยวและคานคู่แยกเป็นแบบวิ่งบนราง(TOP RUNING) และวิ่งใต้ราง(UNDER RUNNING) โดยคานเดี่ยวสามารถรับน้ำหนักได้จาก 125 กิโลกรัม ถึง 20000 กิโลกรัมและ  125 กิโลกรัม ถึง 10000 กิโลกรัมสำหรับเครนแบบวิ่งใต้คาน ส่วนแบบคานคู่สามารถ รับน้ำหนักได้ตั้งแต่ 500 กิโลกรัม ถึง 1,000,000 กิโลกรัมหรือเรียกว่า1000 ตัน ตัวคานสร้างขึ้นจากเหล็กรูปพรรณต่างๆ มีรูปแบบหลายแบบ เช่น รูปเอชบีม H-Beam Girder หรือไอบีม  I-Beam Girder และ 
กล่อง ( Box Girder )
     C.Endcarriage Saddle หรือ End Truck ภาษาไทยไม่รู้เรียกว่าอะไร เพราะไม่มีใครบัญญัติคำศัพท์ไว้ ส่วนตัวผมเรียกมันว่า อานเครน  หวังว่าคงจะมีคนเอาไปใช้นะครับ มีทั้งแบบมอเตอร์ไฟฟ้าและแบบไม่มีแยกออกเป็นแบบวิ่งบนราง (TOP RUNING) และใต้ราง (UNDER RUNNING)
    D. Runway เป็นรางเครนมีแบบสำหรับเครนวิ่งบนราง และ วิ่งใต้ราง แบบวิ่งบนจะใช้เหล็กรางรถไฟRAIL เป็นรางหรือ เหล็กสี่เหลี่ยมตัน SQARE BAR ยึดเข้ากับตัวคานรองรับที่อาจจะเป็นเหล็ เอชบีม ไอบีม หรือ ฺเหล้กกล่องประกอบ เป็นต้น

 

จากรูปด้านบน คือ โอเวอร์เฮดเครนแบบคานเดี่ยว วิ่งบนราง 
มาดูส่วนประกอบเครนกันจากรูปด้านบน
1.คือรอกไฟฟ้า (electric Hoist) ในรูปเป็นรอกสลิงแบบวิ่งใต้คาน 
2.คาน (Girder) เป็นคานเดี่ยวแบบกล่องประกอบ  BOX GIRDER 
3.จากรูปมันเป็นเลข 4 อุปกรณ์ที่เป็นสีส้ม คือ อาน (End carriage หรือ End Truck )
4.เป็นเกียร์มอเตอร์สำหรับขับล้อที่อยู่กับอาน(End carriage)
5.เหมือนข้อ 4.
6.สวิตซ์กด ( Buton Switch )มีแบบ ยึดสายไฟ Pendant กับ รีโมท remote control 
7.Control Box
8.Stoper 
9.เหมือนข้อ 8.
10.รางสำหรับสายไฟ 
11.สายไฟสำหรับรอกไฟฟ้า
12.สายไฟสำหรับส่งไปที่ปุ่มกด




ขอบคุณรูปภาพจาก
 http://www.demagcranes.com
 http://www.abuscranes.co.uk

รวมรูปโอเวอร์เฮดเครนแบบต่างๆ
1.โอเวอร์เฮดเครนแบบคานคู่วิ่งบนราง


2.โอเวอร์เฮดเครนแบบคานเดี่ยววิ่งล่าง

3.โอเวอร์เฮดเครนแบบคานเดี่ยววิ่งบน

รายละเอียดเพิ่มเติมหรือให้เสนอราคาสินค้า

E-MAIL : CHAI306@HOTMAIL.COM
หรือ Tel  : 083-5832903
มีบริการให้คำแนะนำ ออกแบบ ประกอบ และ บริการติดตั้งทุกพื้นที่ทั่วประเทศ
เวลา 09.00 - 20.00 น. ทุกวัน
ประกอบและจัดส่งหรือติดตั้งภายใน 30 วัน