ปั้นจั่นชนิดอยู่กับที่ หรือ เครน (Crane)
เป็นเครื่องจักรที่ใช้ใน
การขนถ่ายหรือขนย้ายสินค้าและวัสดุที่มีใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม, คลังสินค้า
และสถานประกอบการต่างๆอย่างแพร่หลาย เครื่องจักร ดังกล่าวถือเป็น “เครื่องจักรที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุได้สูง”
กระทรวงมหาดไทยจึงได้ออกประกาศเรื่อง ความปลอดภัยในการทำงาน เกี่ยวกับปั้นจั่น
ตั้งแต่เมื่อปี พ.ศ. 2530 ซึ่งประกาศดังกล่าวถือเป็นกฏ หมายที่บังคับใช้มามากกว่า
20 ปี และต่อมาเมื่อมีการจัดตั้งกระทรวง แรงงานและสวัสดิการสังคมขึ้น
ประกาศดังกล่าวก็ยังคงมีผลบังคับใช้
อยู่เพียงแต่เปลี่ยนมากำกับดูแลโดยกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม แทนกรมแรงงาน กระทรวง มหาดไทย ในอดีตนั้นเอง
ผู้ประกอบการและนายจ้างควรตระหนักถึงความรับผิดชอบและ
หน้าที่ตามประกาศฉบับนี้เพราะแนวโน้มการใช้ปั้นจั่นโดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ในโรงงานอุตสาหกรรมมีค่อนข้างสูง และมีสถิติอุบัติเหตุจากการทำงาน
เกิดขึ้นค่อนข้างบ่อย ทำให้มีผู้เสียชีวิต พิการ และบาดเจ็บจำนวนมาก
โดยมีสาเหตุมาจากการไม่ตรวจสอบความปลอดภัยในการใช้ปั้นจั่นตาม ช่วงระยะเวลาที่กำหนด
ขาดการตรวจสอบก่อนใช้งานการติดตั้งปั้นจั่น ไม่เหมาะสม การติดตั้งไม่มั่นคงแข็งแรง
โดยเฉพาะหัวหน้างานขาดการ
ควบคุมดูแลให้ปฏิบัติอย่างถูกต้องและพนักงานขับเครนขาดความรู้ความ
เข้าใจในการใช้งานที่ถูกต้อง ดังนั้นเพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการใช้ ปั้นจั่น
ผู้ที่รับผิดชอบงานเกี่ยวกับปั้นจั่นต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วย
ความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่นอย่างเคร่งครัด
กฎหมายว่าด้วยความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่นได้
กำหนดให้นายจ้างจัดให้มีการตรวจสอบส่วนประกอบและอุปกรณ์ของ ปั้นจั่นทุกๆ สามเดือน
ตามแบบซึ่งกำหนดไว้ อย่างไรก็ตามวิศวกรผู้ตรวจ
สอบและผู้ที่รับผิดชอบงานเกี่ยวกับปั้นจั่นควรมีความรู้และเข้าใจถึงการ
ออกแบบและข้อกำหนดต่างๆที่เกี่ยวข้องเพื่อนำมาประกอบการตรวจ
ความปลอดภัยของปั้นจั่นได้อย่างถูกต้อง ซึ่งในบทความนี้ขอนำเสนอ
เฉพาะจุดที่สำคัญๆและควรตรวจสอบทุกครั้งเพื่อความปลอดภัยของ
ปั้นจั่นและเพื่อให้ท่านผู้สนใจได้นำไปพิจารณาประกอบการตรวจสอบ ต่อไป
นิยามศัพท์
กฎหมายว่าด้วยความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่นได้ กำหนดว่า ปั้นจั่น (Cranes
หรือ Derricks ) หมายความว่า เครื่องจักรกล
ที่ใช้ยกสิ่งของขึ้นลงตามแนวดิ่งและเคลื่อนย้ายสิ่งของเหล่านั้นในลักษณะ
แขวนลอยไปตามแนวราบ ซึ่งปั้นจั่นตามข้อกำหนดนี้มีสองชนิดคือ
1) ปั้นจั่นชนิดอยู่กับที่ หมายถึง ปั้นจั่นที่อุปกรณ์ต่างๆ
และ เครื่องต้นกำลังติดตั้งอยู่บนขาตั้งล้อเลื่อน รางเลื่อน หรือหอสูง การใช้งาน
จะถูกจำกัดตามระยะที่ขาตั้งหรือล้อเลื่อนจะเคลื่อนที่ไปได้ ปั้นจั่นชนิด
อยู่กับที่นี้จะมีใช้มากในโรงงานอุตสาหกรรม ท่าเรือ และการก่อสร้าง อาคารสูง
รูปแสดงลักษณะของปั้นจั่นชนิดอยู่กับที |
รูปแสดงลักษณะของปั้นจั่นชนิดเคลื่อนที่ |
2) ปั้นจั่นชนิดเคลื่อนที่ หมายถึง
ปั้นจั่นที่อุปกรณ์ต่างๆ และ
เครื่องต้นกำลังติดตั้งอยู่บนยานพาหนะที่ขับเคลื่อนในตัวเอง เช่น รถบรรทุก
หรือรถตีนตะขาบ สามารถเคลื่อนที่ไปทำงานที่บริเวณอื่นๆ
ที่อยู่ห่างไกลได้อย่างรวดเร็ว
ในที่นี้จะขอกล่าวถึงการตรวจความปลอดภัยเฉพาะปั้นจั่นชนิดอยู่
กับที่หรือที่เรียกว่าเครนเหนือศรีษะ (Overhead Crane) เท่านั้น เครน
สำหรับการเคลื่อนย้ายวัสดุถือเป็นอุปกรณ์ชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมและ
ถูกเลือกใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมโดยทั่วไป ทั้งนี้เนื่องจากความง่ายใน การใช้งาน
คุ้มประโยชน์ต่อการลงทุน มีอายุการใช้งานนานและการบำรุง รักษาไม่ยุ่งยากมากนัก
เครนในโรงงานอุตสาหกรรมโดยทั่วไปแบ่งออกได้เป็นหลายชนิด อาทิเช่น
เครนคานเดี่ยว (single girder crane), เครนคานคู่ (double girder crane),
เครนขาหยั่ง (gantry crane) และเครนแขนยื่น (Jib crane)
ซึ่งมีขนาดหรือความสามารถในการยกน้ำหนักได้แตกต่างกันไป
ตามลักษณะความต้องการในการใช้งานมีขนาดตั้งแต่ไม่ถึงหนึ่งตันไป จนถึงเป็นร้อยๆ
ตัน
รูปแสดง เครนคานเดี่ยว รูปแสดง เครนคานคู่
รอกไฟฟ้าถือเป็นปั้นจั่นหรือไม่
มีคำถามอยู่เสมอว่ารอกไฟฟ้าถือเป็นปั้นจั่นหรือไม่และต้องมีการ
ตรวจความปลอดภัยตามกฏหมายที่กำหนดหรือไม่ ก่อนอื่นควรทำความ รู้จักกับรอกไฟฟ้า
(Hoist) ก่อนว่าเป็นอย่างไร
รอกไฟฟ้า (Hoist)
หมายถึงเครื่องจักรกลที่ใช้ยกสิ่งของขึ้นลงตาม แนวดิ่งเท่านั้น
อาจใช้โซ่หรือลวดสลิงสำหรับยก ต้นกำลังของรอกนี้อาจใช้ เป็นไฟฟ้า ลม
หรือใช้มือสาวขึ้นลงก็ได้
เมื่อพิจารณาตามข้อกำหนดของกฎหมายแล้วหาก รอกที่ใช้แขวน
อยู่กับที่เพื่อยกสิ่งของขึ้นและลงในแนวดิ่งโดยไม่มีการเคลื่อนย้ายสิ่งของใน
ลักษณะแขวนลอยไปตามแนวราบแล้วจะไม่ถือเป็นปั้นจั่นแต่ส่วนใหญ่
ในการใช้งานของรอกไฟฟ้านั้น รอกไฟฟ้าจะใช้ประกอบกับรางเพื่อ
เคลื่อนย้ายสิ่งของไปในแนวระนาบด้วยเสมอ เช่นรอกไฟฟ้าบนรางเดี่ยว (monorail hoist)
ที่มีใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมทั่วไปหากมีลักษณะที่ใช้
ยกสิ่งของขึ้นลงตามแนวดิ่งและมีการเคลื่อนย้ายสิ่งของเหล่านั้นในลักษณะ
แขวนลอยไปตามแนวราบแล้วก็ถือเป็นปั้นจั่นชนิดอยู่กับที่ชนิดหนึ่ง ซึ่งต้อง
มีการตรวจความปลอดภัยตามกฏหมายด้วย
|
|
รูปแสดงลักษณะรอกไฟฟ้าแบบใช้โซ่และแบบใช้ลวดสลิง |
ลักษณะของเครนเหนือศรีษะ (Overhead Crane)
ปั้นจั่นหรือเครนเหนือศีรษะโดยทั่วไป ประกอบด้วยโครงสร้างและ
อุปกรณ์ในการยกที่เรียกว่ารอกไฟฟ้า (hoist) อาจเป็นโซ่หรือลวดสลิงก็ได้
และมีชุดขับเคลื่อนทั้งชุดเดินยาวและชุดเดินขวางประกอบเข้ากับ โครงสร้างของเครน
อุปกรณ์และส่วนประกอบที่สำคัญต่างๆ มีดังภาพ ประกอบ
|
รูปแสดงส่วนประกอบต่างๆของเครนเหนือศีรษะ |
การเลือกเครนเหนือศรีษะ(Overhead Crane) สำหรับใช้งาน
เครนและรอกไฟฟ้าจะมีมาตรฐานในการออกแบบเพื่อการใช้งานที่ แตกต่างกันไป
แต่โดยส่วนใหญ่สามารถอ้างอิงถึงมาตรฐานการใช้งานของ ยุโรป (FEM) หรืออเมริกา (ISO)
ได้ ซึ่งมาตราฐานทั้งสองนี้สามารถเทียบ เคียงกันได้
มาตราฐานนี้มีการพัฒนาโดยองค์กรกลางในการกำหนดค่า
ความปลอดภัยต่างๆสำหรับการใช้งานและการออกแบบชิ้นส่วนไว้โดยละเอียด
ทั้งนี้เพราะในยุโรปมีการผลิตรอกไฟฟ้ามาอย่างยาวนานและให้
ความสำคัญอย่างมากในเรื่องความปลอดภัย มาตรฐานเหล่านี้จึงให้ความ
สำคัญกับทั้งการใช้งานและการออกแบบที่สอดคล้องกัน เครนและรอก
ไฟฟ้าที่จะสามารถใช้งานได้ในยุโรปต้องออกแบบตามมาตราฐานที่เรียกว่า “FEM” (ย่อมาจาก
European Federation of Materials Handling ; www.fem-eur.com) เท่านั้น
มาตรฐานนี้มีส่วนหนึ่งซึ่งกำหนดอายุการใช้ งานที่ปลอดภัยของเครื่องจักรเอาไว้
โดยอายุของเครื่องจักรจะถูกกำหนด ขึ้นตามลักษณะในการใช้งานต่างๆเป็นสำคัญ
โดยทั่วไปมีการจำแนก สภาวะการใช้งาน (Load Spectrum) ของเครนและรอกไฟฟ้าไว้ 4
ประเภท คือ
1) การใช้งานเบา (Light)
คืออุปกรณ์ที่ออกแบบ เพื่อใช้สำหรับ งานเบาๆ หรือมีความถี่ในการใช้งานไม่มากนัก
2) การใช้ปานกลาง (Medium)
คืออุปกรณ์ที่ออกแบบเพื่อใช้
สำหรับงานในระดับปานกลางหรือมีความถี่ในการใช้งานปานกลาง
3) การใช้งานหนัก (Heavy) คืออุปกรณ์ที่ออกแบบเพื่อใช้
สำหรับงานหนักหรือใช้งานในลักษณะเต็มอัตรากำลังตลอดเวลาและมี ความถี่ในการใช้งานมาก
4) การใช้งานหนักมาก (Very Heavy)
คืออุปกรณ์ที่ออกแบบ เพื่อใช้สำหรับงานหนักมากหรือใช้งานในลักษณะเต็มอัตรากำลัง
ตลอดเวลาและมีความถี่ในการใช้งานสูงต่อเนื่องตลอดเวลา
|
รูปแสดงผังการการเลือกใช้งานของเครนในกลุ่มต่างๆ |
โดยตามมาตรฐานหมายเลข FEM 9.511 และ มาตราฐาน ISO
ได้กำหนดอายุการใช้งานของรอกไฟฟ้าและอุปกรณ์ต่างๆ เป็นที่ใช้กับเครน ไว้เป็นกลุ่มๆ
ดังนี้
|
รูปแสดงผังการการเลือกใช้งานของเครนในกลุ่มต่างๆ |
จากมาตรฐานและการออกแบบดังกล่าวเครนและรอกไฟฟ้าจึงถูก
กำหนดให้มีการออกแบบอายุที่สามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัย (Safe Working Period)
หรือเรียกโดยย่อว่า “S.W.P” ไว้ด้วย
ข้อมูลโดย คุณชาตรี ปรีชาชีววัฒน์ บริษัท เอ็ม.เอช.อี.-ดีแมก (ที)
จำกัด
|